กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะคำประพันธ์ของภาษาไทย ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบๆ ซึ่งนับได้ว่ากลอนสุภาพเป็นกลอนหลักของกลอนทั้งหมด เพราะเป็นพื้นฐานของกลอนหลายชนิด หากเข้าใจกลอนสุภาพ ก็สามารถเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นคำประพันธ์ ที่ต่อท้ายว่า “สุภาพ” นับว่าเป็นคำประพันธ์ที่แสดงลักษณะเป็นไทยแท้ ด้วยมีข้อบังคับในเรื่อง “รูปวรรณยุกต์” ในกลอนสุภาพนอกจากมีบังคับเสียงสระเป็นแบบแผนเช่นกลอนปกติแล้ว ยังบังคับรูปวรรณยุกต์เพิ่ม จึงมีข้อจำกัดทั้งรูปและเสียงวรรณยุกต์ เป็นการแสดงไหวพริบปฏิภาณและความแตกฉานในการใช้ภาษาไทยของผู้แต่งให้เด่นชัดยิ่งขึ้นคำประพันธ์กลอนสุภาพนิยมเล่นกันมากตั้งแต่สมัยอยุธยา จวบจนถึงปัจจุบัน ในต้นรัตนโกสินทร์นั้นงานกลอนสุภาพเด่นชัดในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเฟื่องฟูถึงขนาดมีการแข่งขันต่อกลอนสด กลอนกระทู้ ตลอดรัชสมัยมีผลงานออกมามากมาย เช่น กลอนโขน กลอนนิทาน กลอนละคร กลอนตำราวัดโพธิ์ เป็นต้น บทพระราชนิพนธ์เรื่อง เงาะป่า ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ ยังมีกวีท่านอื่นที่มีชื่อเสียง เช่น สุนทรภู่ เป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็มีปราชญ์กวีทางกลอนสุภาพที่สำคัญหลายท่านเช่นกัน กลอนสุภาพ คือกลอนที่ใช้ถ้อยคำ และทำนองเรียบๆ แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ
กลอนสุภาพแบ่งเป็น ๔ ชนิด คือ
๑.กลอน ๖ เป็นกลอนที่ใช้ในหนึ่งบทมี ๒ คำกลอน หนึ่งค ากลอนมี ๒ วรรค ทุกวรรคมี ๖ คำ(การเรียกชื่อกลอน ๖ จึงมาจากจ านวนค าในวรรค)ในหนึ่งบทมี ๔ วรรค คือ วรรคสดับ วรรครับ วรรครอง วรรคส่ง
๒.กลอน ๗ เป็นกลอนที่ใช้ในหนึ่งบทมี ๒ คำกลอน หนึ่งค ากลอนมี ๒ วรรค ทุกวรรคมี ๗ คำเรียกชื่อกลอน ๗ ตามจำนวนคำในแต่ละวรรค ลักษณะสัมผัสก็จะคล้ายกับกลอน ๖
๓.กลอน ๘ เป็นกลอนที่ใช้ในหนึ่งบทมี ๒ คำกลอน หนึ่งค ากลอนมี ๒ วรรค ทุกวรรคมี ๘ คำลักษณะสัมผัสเหมือนกลอน ๖และ ๗
๔.กลอน ๙ เป็นกลอนที่ใช้ในหนึ่งบทมี ๒ คำกลอน หนึ่งคำกลอนมี ๒วรรค ทุกวรรคมี ๙ ค า ลักษณะสัมผัสเหมือนกลอน ๖,๗ และ ๘