วิชาภาษาไทย ชั้น ม.3 เรื่อง ลักษณะของคำที่มาจากภาษาบาลี และสันสกฤต

ภาษาไทย สอบเข้า ม.4

ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
มีหลักสังเกต ดังนี้
1. มักเป็นคำหลายพยางค์ เช่น กษัตริย์ พฤกษา ศาสนา อุทยาน ทัศนะ ฯลฯ
2. ตัวสะกดมักไม่ตรงตามมาตรา เช่น เทวัญ เนตร อากาศ พิเศษ อาหาร ฯลฯ
3. นิยมมีตัวการันต์ เช่น กาญจน์ เกณฑ์ มนุษย์ สัมภาษณ์ อาทิตย์ ฯลฯ
4. ประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ภ ศ ษ ฤ ฤๅ เช่น พยัคฆ์ อัชฌาสัย กฎ ปรากฏ สัณฐาน ครุฑ วัฒนา เณร โลภ ศึกษา บุรุษ ฤทัย ฯลฯ ยกเว้น ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ศอก ศึก เศิก เศร้า ทั้งหมดนี้เป็นคำไทยแท้

ภาษาบาลี
เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษาสันสกฤต คือ ภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก

ภาษาสันสกฤต
เป็นภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย มีรูปคำสละสลวย ไพเราะ นิยมใช้เป็นคำราชาศัพท์ ภาษาในวรรณคดี ชื่อบุคคล และสถานที่ ฯลฯ